วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

1. www. ย่อมากจากอะไร
 = WWW ย่อมาจาก World Wide Web
2. ฟรีแวร์คือ 
 = ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย [1] (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า
3. ไวรัสคอมพิวเตอร์คือ 
 = ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน

 =  คือ อีเมลที่เราไม่ต้องการ เป็นประเภทหนึ่งของ Junk เมล์ จุดประสงค์ของผู้ส่ง spam mail มักต้องการโฆษณาบริการต่าง ๆ ที่ตัวเองมีอยู่ spam mail เป็นการส่งอีเมล์แต่ละฉบับไปหาคนจำนวนมาก

5. จงบอกจุดเด่่นของ Prezi มา 2 ข้อ 
 = 1. การนำเสนอที่น่าสนใจ
    2. จัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอได้ดี
6. จงบอกประโยชน์ของ G-mail 
 = 6.1. ให้พื้นที่ฟรี ถึง 7 GB (และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
พื้นที่เยอะขนาดนี้ คุณสามารถเก็บอีเมลได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องลบทิ้งอีกแล้ว

6.2. รองรับการใช้งานภาษาไทย 
เปลี่ยนภาษาบนหน้าจอเป็นอังกฤษหรือไทยตามใจคุณ และแน่นอน Gmail รองรับการส่งข้อความด้วยภาษาไทย 

6.3. หาอีเมลกี่ครั้งก็เจอ 
ด้วยระบบเสิร์ซอัจฉริยะของ Google คุณก็หาอีเมลหรือแชท ได้เร็วเพียงแค่พริบตา

6.4. หมดกังวลเรื่องสแปม
Gmail บล็อกสแปมก่อนที่มันจะเข้าอินบ็อกของคุณ

6.5. คุยกับเพื่อนได้ในทันที 
โปรแกรมแชทและอีเมลที่ติดตั้งมาพร้อมกัน ทำให้คุณไม่ต้องเปลี่ยนหน้าจอสลับไปมาให้ยุ่งยากอีกแล้ว 

6.6. เช็คเมลผ่านมือถือ 
อ่าน Gmail บนมือถือได้ง่ายๆ เพียงแค่ใส่ URL http://gmail.com/app บนมือถือของคุณ

6.7. จัดอีเมลเรื่องเดียวกันให้เป็นหนึ่งเดียว 
อีเมลเรื่องเดียวกันที่มีการโต้ตอบไปมาหลายครั้งจะถูกจัดเก็บไว้ด้วยกันโดยอัตโนมัติ คุณจึงหาและอ่านอีเมลทั้งหมดได้ทันที

6.8.เซฟอัตโนมัติ 
Gmail ช่วยเซฟและบันทึกร่างอีเมลที่กำลังเขียนอยู่โดยอัตโนมัติ หมดกังวลเรื่องเขียนอีเมลค้างไว้แล้วหายไปก่อนส่งออก

6.9. Labels
จัดระเบียบให้อีเมลของคุณแบบง่ายๆ ด้วยการแยกเก็บไว้ใน Label

6.10. เปลี่ยนมาใช้ Gmail ง่ายแค่คลิ๊ก

7. อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร จงอธิบาย
 = 
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการ โจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลข บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลาย อย่าง
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว
3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยี สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มี การทำลายสูงเกิดขึ้น
6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
8. อธิบายความหมายของการอัพโหลด
 = หมายถึง การส่งข้อมูลออกจากอุปกรณ์ของเรา? การส่งออกสามารถส่งในรูปแบบไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระทั่งวีดีโอ ส่งออกไป โดยสามารถส่งออกได้ในช่องทางต่างๆ เช่น การส่งผ่าน Message / Email หรือแม้กระทั่งผ่าน FTP (อีกหนึ่งวิธีในการย้ายข้อมูล) เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ ล้วนต้องการความเร็วในการอัพโหลดทั้่งสิ้น

9. อธิบายความหมายของการดาวน์โหลด
 = หมายถึง การรับข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่อุปกรณ์ภายในของเรา ไม่ว่าจะเป็นการ เปิิดเข้าหน้าเว็บ การ download ไฟล์จากเว็บ ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มของการ download เช่นเดียวกัน ยิ่งความเร็วในการดาวน์โหลดสูง ย่อมทำงานได้เร็วขึ้น

10. เขียนชื่อ G-mail อาจารย์ผู้สอน
 = roomcomputer30@gmail.com

11. เขียนชื่อ G-mail ตัวเอง
 = Tankunprabpairee@gmail.com

12. Search Engine หมายถึง 
 = หรือ โปรแกรมค้นหา[1] คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

13. ประโยชน์ของ Search Engine 
 = จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป



วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ClassWork 30/8/2559

1. การ Upload และ Download ต่างกันอย่างไร?
           ในทางคอมพิวเตอร์ อัปโหลด (อังกฤษ: upload; ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุขึ้น) และ ดาวน์โหลด (อังกฤษ: download, ศัพท์บัญญัติว่าบรรจุลง) เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง
การส่งข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการอัปโหลด ขณะเดียวกัน การรับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการดาวน์โหลด ตัวอย่างเช่นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง
สำหรับทาง ไอเอสพี กำหนดการส่งข้อมูลจากลูกค้า เรียกว่าการอัปโหลด และการรับข้อมูลถือเป็นการดาวน์โหลด
โดยทั่วไปที่เข้าใจกัน คำว่าดาวน์โหลดหมายถึงการรับไฟล์ และอัปโหลดหมายถึงการส่งไฟล์
การดาวน์โหลดต่างๆ ได้ทั้งเรื่องการศึกษา ความบันเทิง เช่น ในกรณีดาวน์โหลด ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ เช่น ดาวน์โหลดเพลง MP3 ดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น หรือในกรณีดาวน์โหลดลงโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ทำได้ เช่น ดาวน์โหลดริงโทน ดาวน์โหลดวอลล์เปเปอร์ ต่างๆ หรือจะเป็น ดาวน์โหลดSMS เป็นต้น
2.อธิบายความหมายของ E-mail 
อีเมล (อังกฤษe-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษelectronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 822) การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึง RFC 2049 และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)
ระบบอีเมลที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ(store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายในด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด ส่วนการส่งอีเมลโดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า
3.อธิบายประวัติของ E-mail 
26 มีนาคม 2542 – หนอนเมลิสซา โจมตีระบบอีเมล ทั่วโลก
อีเมลเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) โดยใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ปัจจุบันได้มีการเถียงกันระหว่างเครื่อง SDC's Q32 และ MIT's CTSS ว่าใครเป็นผู้ใช้ระบบอีเมลเป็นเครื่องแรก
ต่อมาพัฒนาให้สามารถส่งอีเมลข้ามระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยระบบแรก ๆ ได้แก่ ระบบ AUTODIN ซึ่งเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (ปีพ.ศ. 2509) และ ระบบ SAGE ซึ่งใช้ตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิด
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาร์พาเน็ต (ARPANET) มีส่วนเป็นอย่างมากในการพัฒนาอีเมล มีการทดลองส่งครั้งแรกในเครือข่ายเมื่อปีพ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2514 นายเรย์ ทอมลินสัน (Ray Tomlinson) เริ่มใช้เครื่องหมาย @ ในการคั่นระหว่างชื่อผู้ใช้กับชื่อเครื่อง เขายังเขียนโปรแกรมรับส่งอีเมลที่ชื่อ SNDMAIL และ READMAIL อาร์พาเน็ตทำให้อีเมลได้รับความนิยม และอีเมลก็ได้กลายเป็นงานหลักของอาร์พาเน็ต
เมื่อประโยชน์ของอีเมลเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็มีการคิดค้นระบบอีเมลที่ติดต่อโดยช่องทางอื่นสำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้เครือข่ายอาร์พาเน็ต เช่นผ่านเครือข่าย UUCP หรือ VNET ก่อนที่มีการพัฒนาอีเมลที่ค้นหาเส้นทางในการส่งโดยอัตโนมัติ (auto-routing) การส่งผ่านอีเมลข้ามจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบจำเป็นระบุเส้นทางการส่งโดยใช้เครื่องหมาย ! คั่นชื่อเครื่องระหว่างทาง วิธีนี้สามารถเชื่อมอีเมลจาก อาร์พาเน็ต BITNET NSFNET UUCP เข้าด้วยกัน
ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2520 หน่วยงาน IETF ออกแบบและกำหนดโพรโทคอลในการส่งอีเมลที่มีชื่อว่า SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ถือเป็นมาตรฐานในการรับส่งอีเมลบนอินเทอร์เน็ต


วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Classwork 9
1. www ย่อมาจาก?
   =  WWW ย่อมาจาก Wold Wide Web คือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เรามักเรียกย่อๆกันว่า เว็บ คือรูปแบบหนึ่งของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบน Internet จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่ง ข้อมูลที่อยู่ห่างไกล ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด   WWW จะแสดงผลอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกให้สามารถนำมาใช้งานได้เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน  โดยใช้เว็บเบราเซอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการดู หรืออ่านข้อมูลเหล่านั้น เว็บเบราวเซอร์ที่นิยมใช้ เช่น IE Microsoft Internet Explorer , Firefox , google chrome เป็นต้น

2. home page หมายถึง?
   = โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย

3. Web Browser หมายถึง? 
   =  เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

4.จงหาชื่อเว็บไซต์ของโรงพยาบาลมา 5 ตัวอย่าง เช่น www.maccormick.in.th โรงพยาบาลแมคคอมิค
   =  1. www.samitivejhospitals.com สมิติเวช
       2. http://med.mahidol.ac.th/ โรงพยาบาลรามาธิบดี
       3. http://www.lanna-hospital.com/ โรงพยาบาลลานนา
       4. http://www.theppanya.com/ โรงพยาบาลเทพปัญญา
       5. http://www.chiangmairam.com/ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม

5. การตั้งชื่อโดเมนไม่ควรเกินกี่ตัว
   =  46 ตัวอักษร

6. โดเมนจะประกอบกี่ส่วนอะไรบ้าง
   =  โดเมนเนมจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
ส่วนที่ 1 Sub Domain Name 
คือ “คำ” ที่อยู่ก่อนชื่อโดเมน และเป็นสิ่งที่จะต้องกำหนดว่าจะให้ URL นี้เชื่อมโยงไปยังส่วนไหนของเว็บไซต์ โดยปกติมักใช้เป็น www ซึ่งเป็นของฟรี 
ส่วนที่ 2 Second-Level Domain Name (SLD)
ในส่วนนี้มักจะตั้งชื่อเป็นอะไรก็ได้ แต่ห้ามซ้ำกับที่มีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้สับสนว่าจะไปที่เว็บไซต์ไหนกันแน่ การตั้งชื่อตรงนี้จะมีความสำคัญมากกับการที่จะทำให้เว็บดังได้ เพราะคงจะปฏิเสธกันไม่ได้ว่า “ชื่อ” เป็นสิ่งแรกที่คนในโลกของอินเตอร์เน็ตจะรู้จักกันได้ การตั้งชื่อในส่วนนี้จึงควรให้เป็นชื่อที่จำง่าย สั้น และกระชับ สะกดง่าย ที่ความหมายและเข้าใจได้ชัดเจน
ส่วนที่ 3 Top-Level Domain (TLD)
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ โดเมน 2 ระดับ  และโดเมน 3 ระดับ
โดเมน 2 ระดับ  มีลักษณะดังนี้  hotmail.com , thai.net เป็นต้น  โดยโดเมนแบบนี้จะประกอบด้วยชื่อโดเมน และตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุด  คือคำย่อของประเภทองค์กร
ประเภทองค์กร
7. โดเมนของประเทศไทยที่มีการจดทะเบียนแล้วนั้น ชื่อหน่วยงานว่าอะไร
   =  ไทยนิก
8.  th ย่อมาจาก
   =  .th เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศไทย ดูแลโดยมูลนิธิสารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย และเปิดให้จดทะเบียนโดเมนเนม .th ระดับที่สอง
9.  TCP/IP ย่อมาจาก ทำหน้าที่อะไร
   =   การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ 

TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address 





วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Classwork
Web Browser คือ อะไร?

      เบราเซอร์ (Browser) เป็นชื่อที่ใช้เรียกโปรแกรมที่เราใช้ท่องเว็บกัน ซึ่งชื่อนี้หลายท่านไม่คุ้นและไม่รู้จัก ส่วนมากเวลาถามว่าใช้อะไรเล่นเน็ตก็มักจะได้คำตอบว่า IE บ้าง Chrome บ้าง Firefox บ้าง แต่พอถามว่าใช้เบราเซอร์อะไร กลับได้รับคำตอบคือ งงๆๆๆ อะไรคือเบราเซอร์?
      เบราเซอร์ (Browser) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์  เบราเซอร์มีความสามารถในการเปิดดูไฟล์ต่างๆ ที่สนับสนุนเช่น Flash  JavaScript  PDF  Media ต่างๆ ซึ่งเบราเซอร์มีหลายตัวและความสามารถของแต่ละตัวก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาเบราเซอร์  พัฒนาให้มีความสามารถอะไรบ้าง เบราเซอร์มักใช้เปิดดูเว็บเป็นส่วนใหญ่ และการใช้งานต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มักจะทำผ่านเบราเซอร์ เช่น การดูภาพยนตร์ผ่าน Youtube  การส่งเมล์  การซื้อขายสินค้าในระบบ e-commerce  การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)  การดาวน์โหลดไฟล์  การเล่นเกมผ่านเน็ต  การเรียนออนไลน์  เป็นต้น  ล้วนแล้วแต่ทำผ่านเบราเซอร์ทั้งสิ้น

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Classwork 7
 1.Top Domain มีอยู่กี่ประเภท
 = มีอยู่ 2 ประเภท
2.โมเด็มหมายถึง?
= อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อค 
3. ตัวอย่างรูปภาพโมเด็ม 1 รูปภาพ
=



4. ข้อดีของระบบ ISDN
= เป็นระบบการเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงที่ส่งถ่ายข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์
5. Send คือ
= การส่งข้อมูลเว็บเพจไปยัง E-mail เป็นการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
6. E- mail address หมายถึง
= ที่อยู่ของผู้ร้องขอให้บริการอีเมลล์ไม่ว่าจะเป็นผู้รับหรือผู้ส่งโดยการส่งจดหมายผ่านอินเทอร์เน็ต
7. ฟรีแวร์ คือ
= เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับสาธารณชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย