วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

1. www. ย่อมากจากอะไร
 = WWW ย่อมาจาก World Wide Web
2. ฟรีแวร์คือ 
 = ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย [1] (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า
3. ไวรัสคอมพิวเตอร์คือ 
 = ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน

 =  คือ อีเมลที่เราไม่ต้องการ เป็นประเภทหนึ่งของ Junk เมล์ จุดประสงค์ของผู้ส่ง spam mail มักต้องการโฆษณาบริการต่าง ๆ ที่ตัวเองมีอยู่ spam mail เป็นการส่งอีเมล์แต่ละฉบับไปหาคนจำนวนมาก

5. จงบอกจุดเด่่นของ Prezi มา 2 ข้อ 
 = 1. การนำเสนอที่น่าสนใจ
    2. จัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอได้ดี
6. จงบอกประโยชน์ของ G-mail 
 = 6.1. ให้พื้นที่ฟรี ถึง 7 GB (และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
พื้นที่เยอะขนาดนี้ คุณสามารถเก็บอีเมลได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องลบทิ้งอีกแล้ว

6.2. รองรับการใช้งานภาษาไทย 
เปลี่ยนภาษาบนหน้าจอเป็นอังกฤษหรือไทยตามใจคุณ และแน่นอน Gmail รองรับการส่งข้อความด้วยภาษาไทย 

6.3. หาอีเมลกี่ครั้งก็เจอ 
ด้วยระบบเสิร์ซอัจฉริยะของ Google คุณก็หาอีเมลหรือแชท ได้เร็วเพียงแค่พริบตา

6.4. หมดกังวลเรื่องสแปม
Gmail บล็อกสแปมก่อนที่มันจะเข้าอินบ็อกของคุณ

6.5. คุยกับเพื่อนได้ในทันที 
โปรแกรมแชทและอีเมลที่ติดตั้งมาพร้อมกัน ทำให้คุณไม่ต้องเปลี่ยนหน้าจอสลับไปมาให้ยุ่งยากอีกแล้ว 

6.6. เช็คเมลผ่านมือถือ 
อ่าน Gmail บนมือถือได้ง่ายๆ เพียงแค่ใส่ URL http://gmail.com/app บนมือถือของคุณ

6.7. จัดอีเมลเรื่องเดียวกันให้เป็นหนึ่งเดียว 
อีเมลเรื่องเดียวกันที่มีการโต้ตอบไปมาหลายครั้งจะถูกจัดเก็บไว้ด้วยกันโดยอัตโนมัติ คุณจึงหาและอ่านอีเมลทั้งหมดได้ทันที

6.8.เซฟอัตโนมัติ 
Gmail ช่วยเซฟและบันทึกร่างอีเมลที่กำลังเขียนอยู่โดยอัตโนมัติ หมดกังวลเรื่องเขียนอีเมลค้างไว้แล้วหายไปก่อนส่งออก

6.9. Labels
จัดระเบียบให้อีเมลของคุณแบบง่ายๆ ด้วยการแยกเก็บไว้ใน Label

6.10. เปลี่ยนมาใช้ Gmail ง่ายแค่คลิ๊ก

7. อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร จงอธิบาย
 = 
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการ โจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลข บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลาย อย่าง
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว
3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยี สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มี การทำลายสูงเกิดขึ้น
6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
8. อธิบายความหมายของการอัพโหลด
 = หมายถึง การส่งข้อมูลออกจากอุปกรณ์ของเรา? การส่งออกสามารถส่งในรูปแบบไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระทั่งวีดีโอ ส่งออกไป โดยสามารถส่งออกได้ในช่องทางต่างๆ เช่น การส่งผ่าน Message / Email หรือแม้กระทั่งผ่าน FTP (อีกหนึ่งวิธีในการย้ายข้อมูล) เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ ล้วนต้องการความเร็วในการอัพโหลดทั้่งสิ้น

9. อธิบายความหมายของการดาวน์โหลด
 = หมายถึง การรับข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่อุปกรณ์ภายในของเรา ไม่ว่าจะเป็นการ เปิิดเข้าหน้าเว็บ การ download ไฟล์จากเว็บ ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มของการ download เช่นเดียวกัน ยิ่งความเร็วในการดาวน์โหลดสูง ย่อมทำงานได้เร็วขึ้น

10. เขียนชื่อ G-mail อาจารย์ผู้สอน
 = roomcomputer30@gmail.com

11. เขียนชื่อ G-mail ตัวเอง
 = Tankunprabpairee@gmail.com

12. Search Engine หมายถึง 
 = หรือ โปรแกรมค้นหา[1] คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

13. ประโยชน์ของ Search Engine 
 = จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป



วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ClassWork 30/8/2559

1. การ Upload และ Download ต่างกันอย่างไร?
           ในทางคอมพิวเตอร์ อัปโหลด (อังกฤษ: upload; ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุขึ้น) และ ดาวน์โหลด (อังกฤษ: download, ศัพท์บัญญัติว่าบรรจุลง) เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง
การส่งข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการอัปโหลด ขณะเดียวกัน การรับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการดาวน์โหลด ตัวอย่างเช่นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง
สำหรับทาง ไอเอสพี กำหนดการส่งข้อมูลจากลูกค้า เรียกว่าการอัปโหลด และการรับข้อมูลถือเป็นการดาวน์โหลด
โดยทั่วไปที่เข้าใจกัน คำว่าดาวน์โหลดหมายถึงการรับไฟล์ และอัปโหลดหมายถึงการส่งไฟล์
การดาวน์โหลดต่างๆ ได้ทั้งเรื่องการศึกษา ความบันเทิง เช่น ในกรณีดาวน์โหลด ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ เช่น ดาวน์โหลดเพลง MP3 ดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น หรือในกรณีดาวน์โหลดลงโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ทำได้ เช่น ดาวน์โหลดริงโทน ดาวน์โหลดวอลล์เปเปอร์ ต่างๆ หรือจะเป็น ดาวน์โหลดSMS เป็นต้น
2.อธิบายความหมายของ E-mail 
อีเมล (อังกฤษe-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษelectronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 822) การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึง RFC 2049 และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)
ระบบอีเมลที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ(store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายในด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด ส่วนการส่งอีเมลโดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า
3.อธิบายประวัติของ E-mail 
26 มีนาคม 2542 – หนอนเมลิสซา โจมตีระบบอีเมล ทั่วโลก
อีเมลเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) โดยใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ปัจจุบันได้มีการเถียงกันระหว่างเครื่อง SDC's Q32 และ MIT's CTSS ว่าใครเป็นผู้ใช้ระบบอีเมลเป็นเครื่องแรก
ต่อมาพัฒนาให้สามารถส่งอีเมลข้ามระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยระบบแรก ๆ ได้แก่ ระบบ AUTODIN ซึ่งเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (ปีพ.ศ. 2509) และ ระบบ SAGE ซึ่งใช้ตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิด
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาร์พาเน็ต (ARPANET) มีส่วนเป็นอย่างมากในการพัฒนาอีเมล มีการทดลองส่งครั้งแรกในเครือข่ายเมื่อปีพ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2514 นายเรย์ ทอมลินสัน (Ray Tomlinson) เริ่มใช้เครื่องหมาย @ ในการคั่นระหว่างชื่อผู้ใช้กับชื่อเครื่อง เขายังเขียนโปรแกรมรับส่งอีเมลที่ชื่อ SNDMAIL และ READMAIL อาร์พาเน็ตทำให้อีเมลได้รับความนิยม และอีเมลก็ได้กลายเป็นงานหลักของอาร์พาเน็ต
เมื่อประโยชน์ของอีเมลเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็มีการคิดค้นระบบอีเมลที่ติดต่อโดยช่องทางอื่นสำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้เครือข่ายอาร์พาเน็ต เช่นผ่านเครือข่าย UUCP หรือ VNET ก่อนที่มีการพัฒนาอีเมลที่ค้นหาเส้นทางในการส่งโดยอัตโนมัติ (auto-routing) การส่งผ่านอีเมลข้ามจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบจำเป็นระบุเส้นทางการส่งโดยใช้เครื่องหมาย ! คั่นชื่อเครื่องระหว่างทาง วิธีนี้สามารถเชื่อมอีเมลจาก อาร์พาเน็ต BITNET NSFNET UUCP เข้าด้วยกัน
ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2520 หน่วยงาน IETF ออกแบบและกำหนดโพรโทคอลในการส่งอีเมลที่มีชื่อว่า SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ถือเป็นมาตรฐานในการรับส่งอีเมลบนอินเทอร์เน็ต


วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Classwork 9
1. www ย่อมาจาก?
   =  WWW ย่อมาจาก Wold Wide Web คือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เรามักเรียกย่อๆกันว่า เว็บ คือรูปแบบหนึ่งของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบน Internet จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่ง ข้อมูลที่อยู่ห่างไกล ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด   WWW จะแสดงผลอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกให้สามารถนำมาใช้งานได้เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน  โดยใช้เว็บเบราเซอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการดู หรืออ่านข้อมูลเหล่านั้น เว็บเบราวเซอร์ที่นิยมใช้ เช่น IE Microsoft Internet Explorer , Firefox , google chrome เป็นต้น

2. home page หมายถึง?
   = โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย

3. Web Browser หมายถึง? 
   =  เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

4.จงหาชื่อเว็บไซต์ของโรงพยาบาลมา 5 ตัวอย่าง เช่น www.maccormick.in.th โรงพยาบาลแมคคอมิค
   =  1. www.samitivejhospitals.com สมิติเวช
       2. http://med.mahidol.ac.th/ โรงพยาบาลรามาธิบดี
       3. http://www.lanna-hospital.com/ โรงพยาบาลลานนา
       4. http://www.theppanya.com/ โรงพยาบาลเทพปัญญา
       5. http://www.chiangmairam.com/ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม

5. การตั้งชื่อโดเมนไม่ควรเกินกี่ตัว
   =  46 ตัวอักษร

6. โดเมนจะประกอบกี่ส่วนอะไรบ้าง
   =  โดเมนเนมจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
ส่วนที่ 1 Sub Domain Name 
คือ “คำ” ที่อยู่ก่อนชื่อโดเมน และเป็นสิ่งที่จะต้องกำหนดว่าจะให้ URL นี้เชื่อมโยงไปยังส่วนไหนของเว็บไซต์ โดยปกติมักใช้เป็น www ซึ่งเป็นของฟรี 
ส่วนที่ 2 Second-Level Domain Name (SLD)
ในส่วนนี้มักจะตั้งชื่อเป็นอะไรก็ได้ แต่ห้ามซ้ำกับที่มีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้สับสนว่าจะไปที่เว็บไซต์ไหนกันแน่ การตั้งชื่อตรงนี้จะมีความสำคัญมากกับการที่จะทำให้เว็บดังได้ เพราะคงจะปฏิเสธกันไม่ได้ว่า “ชื่อ” เป็นสิ่งแรกที่คนในโลกของอินเตอร์เน็ตจะรู้จักกันได้ การตั้งชื่อในส่วนนี้จึงควรให้เป็นชื่อที่จำง่าย สั้น และกระชับ สะกดง่าย ที่ความหมายและเข้าใจได้ชัดเจน
ส่วนที่ 3 Top-Level Domain (TLD)
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ โดเมน 2 ระดับ  และโดเมน 3 ระดับ
โดเมน 2 ระดับ  มีลักษณะดังนี้  hotmail.com , thai.net เป็นต้น  โดยโดเมนแบบนี้จะประกอบด้วยชื่อโดเมน และตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุด  คือคำย่อของประเภทองค์กร
ประเภทองค์กร
7. โดเมนของประเทศไทยที่มีการจดทะเบียนแล้วนั้น ชื่อหน่วยงานว่าอะไร
   =  ไทยนิก
8.  th ย่อมาจาก
   =  .th เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศไทย ดูแลโดยมูลนิธิสารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย และเปิดให้จดทะเบียนโดเมนเนม .th ระดับที่สอง
9.  TCP/IP ย่อมาจาก ทำหน้าที่อะไร
   =   การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ 

TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address 





วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Classwork
Web Browser คือ อะไร?

      เบราเซอร์ (Browser) เป็นชื่อที่ใช้เรียกโปรแกรมที่เราใช้ท่องเว็บกัน ซึ่งชื่อนี้หลายท่านไม่คุ้นและไม่รู้จัก ส่วนมากเวลาถามว่าใช้อะไรเล่นเน็ตก็มักจะได้คำตอบว่า IE บ้าง Chrome บ้าง Firefox บ้าง แต่พอถามว่าใช้เบราเซอร์อะไร กลับได้รับคำตอบคือ งงๆๆๆ อะไรคือเบราเซอร์?
      เบราเซอร์ (Browser) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์  เบราเซอร์มีความสามารถในการเปิดดูไฟล์ต่างๆ ที่สนับสนุนเช่น Flash  JavaScript  PDF  Media ต่างๆ ซึ่งเบราเซอร์มีหลายตัวและความสามารถของแต่ละตัวก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาเบราเซอร์  พัฒนาให้มีความสามารถอะไรบ้าง เบราเซอร์มักใช้เปิดดูเว็บเป็นส่วนใหญ่ และการใช้งานต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มักจะทำผ่านเบราเซอร์ เช่น การดูภาพยนตร์ผ่าน Youtube  การส่งเมล์  การซื้อขายสินค้าในระบบ e-commerce  การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)  การดาวน์โหลดไฟล์  การเล่นเกมผ่านเน็ต  การเรียนออนไลน์  เป็นต้น  ล้วนแล้วแต่ทำผ่านเบราเซอร์ทั้งสิ้น

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Classwork 7
 1.Top Domain มีอยู่กี่ประเภท
 = มีอยู่ 2 ประเภท
2.โมเด็มหมายถึง?
= อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อค 
3. ตัวอย่างรูปภาพโมเด็ม 1 รูปภาพ
=



4. ข้อดีของระบบ ISDN
= เป็นระบบการเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงที่ส่งถ่ายข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์
5. Send คือ
= การส่งข้อมูลเว็บเพจไปยัง E-mail เป็นการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
6. E- mail address หมายถึง
= ที่อยู่ของผู้ร้องขอให้บริการอีเมลล์ไม่ว่าจะเป็นผู้รับหรือผู้ส่งโดยการส่งจดหมายผ่านอินเทอร์เน็ต
7. ฟรีแวร์ คือ
= เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับสาธารณชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ClasssWork

1.....ถูก.....คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหน่วยความจำไม่                        น้อยกว่า9MB
2.....ผิด.....โดเมนหมายถึงอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
3.....ผิด.....ข้อดีของโมเด็มแบบติดตั้งภายในเครื่องย้ายไปใช้เครื่องอื่นได้ง่าย
4.....ถูก.....โปรแกรมเว็บบราวเซอร์เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้                    งาน
5.....ผิด.....เมื่อผู้ใช้ทำการสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแล้วสิ่งที่ได้รับจากISPคือรหัส                         ผ่าน
6.....ผิด.....ISDNเป็นเครือข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูงที่ส่งสัญญาณให้เป็นระบบดิจิทัลและเป็นโมเด็ม
7.....ผิด.....Nertwork Terminal คืออุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณใหเป็นระบบดิจิทัลและเป็นโมเด็ม
8.....ผิด.....ADSLเป็นการส่งข้อมูลบนสายโทรศัพท์ที่ไม่ต้องลากสายเพิ่มขอเพียงมีโทรศัพท์ที่บ้านก็                        สามารถใช้บริการADSLได้
9.....ผิด.....อุปกรณ์จำเป็นการใช้บริการ Satelite ได้แก่จานดาวเทียมตัว PC CARD ติดตั้งบนเครื่องพีซี                      และโมเมนเนม
10...ถูก.....จุดเด่นของ Cable Modem สามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมใช้อินเทอร์เน็ตในเวลาเดียวกัน                          เฉพาะ Two 1. ค โมเด็ม ก.Internet Modem 2. ซ ดิสก์ไดร์ฟ ข.ISDN 3. ก โมเด็มแบบติดตั้งภายใน ค.Modem 4. ญ โทเด็มแบบติดตั้งภายนอก ง.Network Terminal 5. ฌ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จ.Terminal adapter 6. ข ระบบการเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูง ฉ.One way 7. จ อุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณ ช.Two way 8. ง อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ซ.Disk Drive 9. ฉ เป็นการทำงานด้าน Downsream ฌ.Web Browser DSoftwear 10. ช เป็นการทำงานด้าน Do และ Upstream ญ.External Modem

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

          อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกโดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันซึ่งคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก และเสียง เป็นต้น"
กิดานันท์ มลิทอง (2540 , 321) ได้กล่าวถึงความหมายของอินเตอร์เน็ตว่าหมายถึงระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อการเข้าถึงแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่
สมนึก คีรีโต สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ และสมชาย นำประเสริฐชัย (2538 , 1) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า อินเตอร์เน็ตเป็นกลุ่มเครือข่ายย่อยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (โปรโตคอล) เดียวกัน ภายในอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ อาทิ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล บริการค้นหาข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ จำนวนมาก ข่าวสารในอินเตอร์เน็ตนับเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฎอยู่
นอกจากนี้ นิพันธุ์ อินทอง และอาจารี นาโค (2540, 143) ได้ให้ความหมายของอินเตอร์เน็ตในทำนองเดียวกันว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเอกชนฯ หรือเครือข่ายของหน่วยงานราชการ โดยมีปัจจัยหลักอยู่ ประการคือ
1. อินเตอร์เน็ตยอมให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายหลากหลายประเภทสื่อสารกันได้
2. ไม่มีองค์กรใดเป็นเจ้าของหรือจัดการวางระเบียบในอินเตอร์เน็ต
3. อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยจิตสำนึก ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องมีมารยาทใน
การใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน มีมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลแบบเดียวกัน ภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ ที่สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพ 
การบริการ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกันภายในอินเตอร์เน็ตมีบริการมากมายหลายรูปแบบ ที่สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวก
การใช้งานในอินเตอร์เน็ต การใช้งานหรือการบริการในอินเตอร์เน็ตมีหลายประเภทด้วยกัน กิดานันท์ มลิทอง (2540 , หน้า 326 - 328) ได้กล่าวถึงการใช้งานในอินเตอร์เน็ต ดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronics mail : e-mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า "อี-เมล์" เป็นการรับส่งข้อความผ่านข่ายงานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ ในข่ายงานเดียวกันหรือข้ามข่ายงานอื่นในอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลกในทันที นอกจากข้อความที่เป็นตัวอักษรแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพและเสียงร่วมไปด้วยได้เพื่อให้ผู้รับได้อ่านทั้งตัวอักษร ดูภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงพูดหรือเสียงเพลงประกอบด้วย
2. การถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี) file transfer protocol : FTP) เป็นการถ่ายทอดโอนแฟ้มข้อมูลประเภทต่าง ๆ เช่น แฟ้มข่าว แฟ้มภาพ แฟ้มเสียงเพลง ฯลฯ จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบรรจุลง (download) ไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา หรือจะเป็นการบรรจุนี้ (upload) ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเราส่งไปที่เครื่องบริการแฟ้มเพื่อให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้เช่นกัน
3. การค้นหาแฟ้ม เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบใหญ่ที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วโลกโดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มากมายหลายล้านแฟ้มบรรจุอยู่ในระบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นใช้งาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีระบบหรือโปรแกรมเพื่อช่วยในการค้นหาแฟ้มอย่างสะดวกรวดเร็วโปรแกรมที่นิยมใช้กันโปรแกรมหนึ่ง ได้แก่ อาร์คี (archic) ที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อแต่ไม่ทราบว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใด ๆ ในอินเตอร์เน็ต โปรแกรมนี้จะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ในฐานข้อมูล เมื่อต้องการค้นว่าแฟ้มนั้นอยู่ในเครื่องบริการใดก็เพียงแต่เรียกใช้อาร์คีแล้วพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการนั้นลงไป อาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลและแสดงชื่อแฟ้มพร้อมรายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นให้ทราบ เมื่อทราบชื่อเครื่องบริการแล้วก็สามารถใช้เอฟทีพีเพื่อถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลมาบรรจุลงในคอมพิวเตอร์ของเราได้ 


2. ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

           อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503อินเทอร์เน็ต ในยุคแรกๆ เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
****ในปี พ.ศ.2512 ARPAnet ได้เปลี่ยนชื่อเป็น DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง เช่น ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ คนละชนิด จาก แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2518 จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลองเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง
          ****พ.ศ.2526 DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal)มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ดังนั้น TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
****พ.ศ.2529 ได้มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) ขึ้น เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย โดยให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.edtechno.com จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บทั้งหมด เป็นต้น
          ****พ.ศ.2533 DARPA ได้ให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐาน เหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป ต่อมาอาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้โดยเรียกเครือข่ายว่าอินเทอร์เน็ตโดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกาและปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก(http://www.thaiall.com)
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
          ****พ.ศ. 2534 เป็นปีที่มีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ของ บริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกเครือข่ายนี้ว่า"ไทยเน็ต" (THAInet) นับเป็นเกตเวย์(Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย
        ****ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เรียกว่า เครือข่าย"ไทยสาร" ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (จักรพงษ์ เจือจันทร์.2543)

3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

    นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) การติดต่ออินเทอร์เน็ตของทั้ง สถาบันเป็นการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยความร่วมมือกับประเทศออสเตรียตามโครงการ IDP ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยสายโทรศัพท์  จนกระทั่งปี พ..2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นั้นได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต sritrang.psu.th  นับว่าเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย
         
     พ..2534 บริษัท DEC(Thailand) ได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในกิจการของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dec.co.th โดยที่  "th" เป็นส่วนที่เรียกว่าโดเมน(domain) ซึ่งเป็นส่วนแสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย  
         
  ..2535    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายและได้เช่าสาย "ลีสไลน์"(Leased Line) ซึ่งเป็นสายความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย UUNET ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยีจำกัด(UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา การเชื่อมต่อในระยะเริ่มแรกโดย Leased Line ความเร็ว 9600 bps(bps : bit pes second )
นับเป็นปีที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว
เครือข่ายโดยที่ตั้งชื่อว่า จุฬาเน็ต ( ChulaNet ) ได้ปรับปรุงด้วยความเร็วของ Leased   Line จาก 9600 bps ไปเป็นความเร็ว 64 kbps และ128 kbps ตามลำดับ และได้มีสถานศึกษาหลายแห่งได้ขอเชื่อมต่อเครือข่าย อินเตอร์เน็ตโดยผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ สถาบัน เอไอที ( AIT )  มหาวิทยาลัยมหิดล ( MU )  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( CMU ) สถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาลัยเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ( KMITL ) และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ( AU ) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต (THAINET )
               
     ปี พ..2535 เป็นปีเริ่มต้นของการจัดกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า เอ็นดับเบิลยูจี ( NWG : NECTEC  E- mail Workking Group) โดยหน่วยงานของรัฐ คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ( NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีเครือข่าย "ไทยสาร" ( ThaiSarn : Thai Social / Scientific and Research Network )


4. อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

     เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมใช้ทรัพยากรได้ ดังนั้นจึงมีการควบคุมมาตรฐานการติดต่อโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ทำการติดต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกรุ่นทุกแบบ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ พูดคุยกันรู้เรื่อง โดยใช้โปรโตคอลเดียวกัน การติดต่อสื่อสารก็จะเริ่มขึ้น โดยการติดต่อสื่อสารจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบส่งข้อมูลและรับข้อมูล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการส่งข้อมูลเราจะเรียกว่าเครื่องให้บริการ (Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูล เราจะเรียกว่าเครื่องรับบริการ (Client) ซึ่งการติดต่อในลักษณะนี้เราเรียกว่าการติดต่อแบบ Client-Server
ตัวอย่างวิธีบริการติดต่อ www บนอินเตอร์เน็ต
     บริการรูปแบบหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่เชื่อแน่ว่าเราทุกคนต้องเคยสัมผัสก็คือ WWW หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า เว็บนั่นเอง การให้บริการในรูปแบบนี้คือการเรียกบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape จากเครื่องของเราและระบุ URL เพื่อใช้ในการอ้างที่อยู่เก็บเว็บ เท่านี้เราก็สามารถเปิดดูเว็บได้แล้ว ดังตัวอย่าง เมื่อเราระบุ URL เป็น www.bangkokcity.com ก็จะเป็นการเปิดดูเว็บไซต์ Bangkokcity.com
จากการใช้บริการ WWW ในข้างต้น ชื่อ URL ที่เราป้อนจะถูกส่งไปที่ Dns Server (Domain Name Server) ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อ URL ( ชื่อที่มีความหมาย เช่น www.yahoo.com www.dkt.ac.th เป็นต้น ) ให้กลายเป็นชื่อแบบตัวเลขหรือ IP Addressนั่นเอง
โดยหมายเลข IP นั้นจะถูกใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งเครื่องในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องทุกเครื่องที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตจะมีหมายเลข IP ที่ไม่ซ้ำกันทำให้เราสามารถระบุที่อยู่ของเครื่องที่เก็บเว็บที่เราต้องการเปิดดูได้ โดยเราอาจจะเปรียบหมายเลข IP เหมือนกับเลขที่บ้านของเราในการส่งจดหมาย ก็ได้
จากนั้นเมื่อเราได้เลข IP ที่เราต้องการ คำร้องขอดูเว็บของเราก็จะถูกส่งไปที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีหมายเลข IP นั้น และเมื่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์รับคำร้องขอจากเรา ก็จะส่งเว็บที่เก็บอยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ มาแสดงผลที่เครื่องของเรา และนี่คือขั้นตอนทั้งหมดในการใช้บริการ WWW

  5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

     เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่โยงใยกันทั่วโลก มีบริการในด้านต่างๆ มากมายไว้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประโยชน์แก่ผู้ใช้ระบบเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ   ดังนี้
  การอ่าน   อินเทอร์เน็ตมีบริการอ่านบทความ  ความรู้  นวนิยาย  เรื่องสั้น จากหนังสือ  วารสารและนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้  มีบริการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 
   การค้นคว้าข้อมูล  มีบริการที่สามารถเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เราสามารถที่จะเข้าไปค้นหา ข้อมูลที่เราสนใจใน World Wide Web หรือ WWW เช่น เข้าไปค้นหาข้อมูลที่เป็นความรู้  ศัพท์  เรื่องที่กำลังเป็นที่นิยม   ทั้งข้อมูล ภาพและเสียง
  ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์  มีบริการติดต่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อแนะนำบริษัท สินค้า   องค์การหรือหน่วยงานต่างๆ 
  ส่งคำอวยพร  ในเทศกาลต่างๆ  มีบริการส่งการ์ดอวยพรและข้อมูลให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ  ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  บริการส่งเพลงให้ที่ต้องการส่งให้คนที่รับข้อมูล
  ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร     มีบริการอ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากมุมต่างๆ ได้ทั่วโลกโดยผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร  เช่น CNN ตลอดจนหนังสือพิมพ์ต่างๆ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่รวดเร็ว
  บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ  (Software  Download)  ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งบริษัทผู้ผลิตมีไว้บริการ เช่น Microsoft,ฯลฯ ซึ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีไว้บริการ เพื่อต้องการ  Down Load  โปรแกรมเพื่อไปใช้งาน  เพื่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
 การค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด  (Explore Libraries) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในระบบเครือข่าย Online ไว้บริการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลและบริการอ่านหนังสือใหม่ๆ ที่มีในห้องสมุดต่างๆ
  การผ่อนคลาย   มีบริการเล่นเกม (Play Games) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการเกมออนไลน์ เพื่อให้ความบันเทิง และการฝึกทักษะทางสมองซึ่งเกมออนไลน์ มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น เกมเพื่อการศึกษา ฯลฯ  เกมเหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาทางสมองของเด็กให้เร็วขึ้น และช่วยเสริมทักษะความคิดในเรื่องเรื่องการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  การซื้อสินค้า (Shopping) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ที่ต้องการเข้าไปซื้อสินค้าในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเลือกรายการสินค้าที่มีไว้บริการสั่งจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งจะซื้อขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 ประโยชน์ด้านความบันเทิง  มีบริการดูโทรทัศน์และฟังเพลง (Watch TV. And  Listen Music) 
 การแลกเปลี่ยนข้อมูล มีบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Exchange Message) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้ บริการอินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว
 การสนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการสนทนาออนไลน์ (Chat) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า Chat สามารถพูดกันได้โดยตรง  เหมาะ สำหรับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว
 บริการตอบคำถามให้คำปรึกษา มี web board สำหรับให้คำปรึกษา หรือตอบคำถาม โดยที่ผู้ถามและผู้ตอบไม่รู้จักกันหรือรู้จักกันก็ได้  มีผลดีที่บางข้อคำถามผู้ถามไม่กล้าถามใคร ก็จะมีผู้ให้คำตอบที่เป็นทางสว่างแก่ชีวิตได้
 การเรียนทางไกล  (Distance Learning)  ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ และต่างประเทศมีการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่สามารถทำการเรียนผ่านระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบออนไลน์  โดยเข้าเรียนตามวันและเวลาที่ทำการเรียนการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ การสอนภาอังกฤษ วิชาคอมพิวเตอร์  เป็นต้น


6. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต (E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับเวลาใดก็ได้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ตโปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Web ในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม คือ Nestcape Communicator) และInternet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นwww.nu.ac.thnu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวรac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาth หมายถึง ประเทศไทย
3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)เป็นบริการที่ใช้ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ต้องการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในระบบการสั่งไฟล์นี้อาจเป็นการส่งผ่านเครื่องใด ๆ ในระบบมาไว้ยังเครื่องของเรา ซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด(Download) หรือส่งผ่านจากเครื่องเราไปยังเครื่องอื่นๆ ในระบบ เรียกว่า การอัพโหลด(Upload)
4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)บริการที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ตั้งอยู่ไกลออกไปเพื่อเข้าใช้งานเครื่องอื่น ๆ ได้ทั่วโลกเหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง จะต้องมีชื่ออยู่ในสารบบที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ โดยจะใช้ระบุชื่อ และรหัสผ่าน ถ้าระบุได้ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที
5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ คุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน ในลักษณะของการ Chat เช่น โปรแกรม Microsoft Chat ,Pirch และ ICQ เป็นต้น ยังมีโปรแกรมที่พัฒนาให้สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับทางโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม Cooltalk เป็นต้น
6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)เป็นบริการที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน หรือคล้าย ๆ กัน ได้ส่งข่าวติดต่อกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด
7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)เป็นบริการสืบค้นข้อมูล โกเฟอร์(Gopher) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพียงค้นหาทีละหัวข้อแต่ละหัวข้อจะมีเมนูย่อย ๆ ให้เลือก อาร์ชี(Archie) ผู้ใช้บริการทราบเพียงรายละเอียดบางอย่างก็จะแสดงรายชื่อออกมาให้ผู้ใช้ทราบว่าอยู่ที่ใดบ้าง


7. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต  
WebPage หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser

Web site หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่น 
www.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.)

HomePage หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้มว่า index.html หรือ index.htm เสมอ

Web Browser โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer

Domain Name หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมีการจดทะเบียนที่
www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th
URL(Uniform Resouire Locator)  หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล

IP (Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบบ TCP

TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกรรมในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้

Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น

ISP (Internet Service Provider)   คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ASP (Application Service Provider) คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง

IDC (Internet Data Center) คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทำธุรกรรมให้พร้อมสรรพ

E-Commerce (Elertronic Commerce) คือการทำธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

Hypertext คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ

Download คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากำลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload

Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป

POP (Post Office Protocal) ระบบที่ทำให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง

Internet Address คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง เช่น 
webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่าdatatan.net

IP Address คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้ำกันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com

Mailing List คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเข้าร่วม Mailing Listโดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่อยู่ใน List ได้อ่านกัน